แหล่งเรียนรู้

ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีนหรือเรียกอีกชื่อว่าแม่น้ำนครชัยศรี ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย สร้างโดย "สมเด็จพระพุทธฒาจารย์(พุก )" มีหลวงพ่อวัดไร่ขิงซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ที่ชาวนครปฐมเคารพนับถือ ระหว่างวันขึ้น13คำ ถึงแรม 3คำ เดือน5 และช่วงเทศการตรุษจีนทุกปี จะมีงานเทศกาลนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิงประจำปี ซึ่งเป็นงานใหญ่ของชาวนครปฐม เดิมเป็นวัดราษฏร์ ต่อมาจึงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2533
วัดไร่ขิง หรือ วัดมงคลจินดาราม ตั้งอยู่ที่อำเภอสามพรานห่างจากกรุงเทพฯ 32 กม. มีทางเข้า 3 ทาง คือ ทางแยกหน้าสถานี ตำรวจโพธิ์แก้ว ทางแยกหน้าสวนสามพราน และทางแยกพุทธมณฑลสาย 5 วัดไร่ขิง เป็นวัดราษฎร์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2334 โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) เรียกชื่อวัดตามชื่อตำบล เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดศาลาปูนมาประดิษฐานไว้ที่วัดไร่ขิงด้วย ปัจจุบันชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ พุทธลักษณะเป็นสมัยเชียงแสน สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยไทยล้านนา และล้านช้าง ตามตำนาน เล่าว่าลอยน้ำมา และอัญเชิญขึ้นไว้ที่วัดศาลาปูน วัดไร่ขิงนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระราชทานนามให้ว่า วัดมงคลจินดาราม(ไร่ขิง) แต่ชาวบ้านเรียกกันเต็ม ๆ ว่าวัดมงคลจินดารามไร่ขิง จนกระทั่งเหลือแต่ชื่อวัดไร่ขิงไปในที่สุด วัดไร่ขิง เป็นวัดที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันดี นิยมเดินทางไปนมัสการหลวงพ่อวัดไร่ขิงกันอยู่เสมอ ทุกวันอาทิตย์จะมีตลาดนัดอาหารและผลไม้จำหน่ายหน้าวัด และที่บริเวณริมแม่น้ำหน้าโบสถ์จะมีชาวสวนพายเรือนำผลไม้มาขาย และบริเวณริมแม่น้ำหน้าโบสถ์นี้เป็นเขตอภัยทาน ร่มรื่น มีปลาสวายตัวโตนับพันอาศัยอยู่ นักท่องเที่ยวสามารถซื้อขนมปังเลี้ยงปลาได้ และยังมีก๋วยเตี๋ยวเรือ (หมู) รสเลิศขายทุกวัน นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ของเก่า รวบรวมของเก่าเช่นถ้วยชาม หนังสือเก่า ซึ่งชาวบ้านนำมาถวายวัดจัดแสดงไว้ ในระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ ถึงแรม 3 ค่ำเดือน 5 ของทุกปี ทางวัดไร่ขิงจะจัดงานนมัสการหลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้น มีการออกร้านและมหรสพมากมาย
ประวัติ
คนรุ่นเก่าได้เล่าสืบต่อกันมาว่า วัดไร่ขิงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2394 โดยพระธรรมราชานุวัตร (พุก) ชาวเมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี (ต่อมา ท่านได้รับสถาปนาสมศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)) ในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนวรวิหาร ท่านได้กลับมาสร้างวัดไร่ขิงและวัดดอนหวาย ซึ่งเป็นบ้านโยมบิดาและมารดาของท่าน แต่ยังไม่แล้วเสร็จ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) มรณภาพเมื่อปี วอก พ.ศ. 2427 รวมสิริอายุ 91 ปี พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 9 เมษายน ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 10 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา พ.ศ. 2428 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มาพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุพิเศษวัดศาลาปูน ดังนั้น งานทุกอย่างจึงตกเป็นภาระของพระธรรมราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) เจ้าอาวาสวัดศาลาปูนรูปที่ 6 ซึ่งเป็นหลานชายของท่าน” [1] แต่ไม่ทราบว่าท่านกลับมาปฏิสังขรณ์วัดเมื่อใดหรือท่านอาจจะมาในปี พ.ศ. 2453 ตอนที่ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมราชานุวัตรก็อาจเป็นไปได้ ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุ 75 ปี และเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนรูปที่ 6 ต่อจากสมเด็จพุฒาจารย์ (พุก) อย่างไรก็ตาม ในการปฏิสังขรณ์วัดไร่ขิงในสมัยท่านอยู่ประมาณปี พ.ศ. 2427 หรือ 2453 เป็นต้นมา
สำหรับชื่อวัดนั้น มีเรื่องเล่าว่า พื้นที่วัดในอดีตมีชาวจีนปลูกบ้านอาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมากและนิยมปลูกขิงกันอย่างแพร่หลาย จนเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านหรือชุมชนในแถบนี้ว่า “ไร่ขิง” ต่อมา เมื่อมีชุมชนหนาแน่นมากยิ่งขึ้นจึงได้มีการสร้างวัดเพื่อเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ดังนั้น วัดจึงได้ชื่อตามชื่อของหมู่บ้านหรือชุมชนว่า “วัดไร่ขิง”
ในราวปี พ.ศ. 2446 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เสด็จตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน สมเด็จฯ ได้เสด็จมาที่วัดไร่ขิง และทรงตั้งชื่อวัดใหม่ว่า “วัดมงคลจินดาราม” ทั้งทรงใส่วงเล็บชื่อเดิมต่อท้ายจึงกลายเป็น “วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง)” เมื่อเวลาผ่านพ้นมานานและคงเป็นเพราะความกร่อนของภาษาจีนทำให้วงเล็บหายไป คงเหลือเพียงคำว่า “ไร่ขิง” ต่อท้ายคำว่า “มงคลจินดาราม” จึงต้องเขียนว่า “วัดมงคลจินดาราม-ไร่ขิง” แต่ในทางราชการยังคงใช้ชื่อเดิมเพียงว่า “วัดไร่ขิง” สืบมาจนทุกวันนี้
หลวงพ่อวัดไร่ขิง
องค์หลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ ประดิษฐานอยู่บนฐานอยู่บนฐานชุกชี 5 ชั้น เบื้องหน้าผ้าทิพย์ปูทอดลงมาองค์หลวงพ่อวัดไร่ขิงประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในอุโบสถ หันพระพักตร์ไปทางทิศอุดร (ทิศเหนือ) ซึ่งหน้าวัดมีแม่น้ำนครชัยศรีหรือแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน จากหนังสือประวัติของวัดไร่ขิงได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ได้อัญเชิญมาจากวัดศาลาปูน โดยนำล่องมาทางน้ำด้วยการทำแพไม้ไผ่หรือที่เรียกกันว่าแพลูกบวบรองรับองค์พระปฏิมากรณ์ เมื่อถึงหน้าวัดไร่ขิงจึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ภายในอุโบสถ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันสงกรานต์พอดีจึงมีประชาชนจำนวนมากมาชุมนุมกัน ในขณะที่อัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นจากแพ สู่ปะรำพิธีได้เกิดอัศจรรย์แสงแดดที่แผดจ้ากลับพลันหายไป ความร้อนระอุในวันสงกรานต์ก็บังเกิดมีเมฆดำมืดทะมึน ลมปั่นป่วน ฟ้าคะนอง และบันดาลให้มีฝนโปรยลงมาทำให้เกิดความเย็นฉ่ำและเกิดความปิติ ยินดีกันโดยทั่วหน้า ประชาชนที่มาต่างก็พากันตั้งจิตรอธิษฐานเป็นหนึ่งเดียวกัน ว่า “หลวงพ่อจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ดับความร้อนร้ายคลายความทุกข์ให้หมดไป ดุจสายฝนที่เมทนีดลให้ชุ่มฉ่ำ เจริญงอกงามด้วยธัญญาหารฉะนั้น” ดังนั้น วันดังกล่าวที่ตรงกับวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของคนไทย ทางวัดจึงได้ถือเป็นวันสำคัญ และได้จัดให้มีงานเทศกาลนมัสการปิดทองประจำปีหลวงพ่อวัดไร่ขิง สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ตำนานหลวงพ่อวัดไร่ขิงนั้นจากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา หรือที่เรียกว่า "มุขปาฐะ" มีหลายตำนาน ดังนี้
ตำนานที่ 1 ครั้งเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(พุก)ชาวเมืองนครชัยศรี ได้มาตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน ได้เข้าไปในพระอุโบสถวัดไร่ขิง หลังจากกราบพระประธานแล้ว มีความเห็นว่าพระประธานมีขนาดเล็กเกินไป จึงบอกให้ท่านเจ้าอาวาสพร้อมชาวบ้านไปอัญเชิญมาจากวัดศาลาปูนฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวางลงบนแบบไม้ไผ่และนำล่องมาตามลำน้ำและอัญเชิญขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ ตรงกับวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 วันสงกรานต์พอดี
ตำนานที่ 2 วัดไร่ขิงสร้างเมื่อปีกุน พุทธศักราช 2394 ตรงกับปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 3 ต้นปี ในรัชการที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)ซึ่งเป็นชาวเมืองนครชัยศรี ในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะที่ "พระธรรมราชานุวัตร" ปกครองอยู่ที่วัดศาลาปูนวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้กลับมาสร้างวัดที่บ้านเกิดของตนที่ไร่ขิง เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จแล้วจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งจากกรุงเก่า ( จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ) มาเพื่อประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถแต่การสร้างยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ ท่านได้มรณภาพเสียก่อน ส่วนงานที่เหลืออยู่พระธรรมราชานุวัตร(อาจ จนฺทโชโต) หลานชายของท่านจึงดำเนินงานต่อจนเรียบร้อย และบูรณะดูแลมาโดยตลอดจนถึงแก่มรณภาพ
ตำนานที่ 3 ตามตำนานเป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับมีพระพุทธรูปลอยน้ำมา 5 องค์ก็มี 3 องค์ก็มีโดยเฉพาะในเรื่องที่เล่าว่ามี 5 องค์นั้น ตรงกับคำว่า " ปัญจภาคี ปาฏิหาริยกสินธุ์โน " ซึ่งได้มีการเล่าเป็นนิทานว่า ในกาลครั้งหนึ่ง มีพี่น้องชาวเมืองเหนือ 5 คน ได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาจนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ชั้นโสดาบัน มีฤทธิ์อำนาจทางจิตมากได้พร้อมใจกันตั้งสัตย์อธิษฐานว่า เกิดมาชาตินี้จะขอบำเพ็ญบารมีช่วยให้สัตว์โลกได้พ้นทุกข์ แม้จะตายไปแล้ว ก็จะขอสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้ได้พ้นทุกข์ต่อไปจนกว่าจะถึงพระนิพานครั้งพระอริยบุคคลทั้ง 5 องค์ ได้ดับขันธ์ไปแล้ว ก็เข้าไปสถิตในพระพุทธรูปทั้ง 5 องค์จะมีความปรารถนาที่จะช่วยคนทางเมืองใต้ที่อยู่ติดแม่น้ำให้ได้พ้นทุกข์ จึงได้พากันลอยน้ำลงมาตามลำน้ำทั้ง 5 สาย เมื่อชาวบ้านตามเมืองที่อยู่ริมแม่น้ำเห็นเข้า จึงได้อัญเชิญและประดิษฐานไว้ตามวัดต่างๆ มีดังนี้
พระพุทธรูปองค์ที่ 1 ลอยไปตามแม่น้ำบางปะกง ขึ้นสถิตที่วัดโสธรวรวิหาร เมืองแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกกันว่า "หลวงพ่อโสธร"
พระพุทธรูปองค์ที่ 2 ลอยไปตามแม่น้ำนครชัยศรี (ท่าจีน)ขึ้นสถิตที่วัดไร่ขิงเมืองนครชัยศรี เรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง"
พระพุทธรูปองค์ที่ 3 ลอยไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสถิตที่วัดบางพลี เรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดบางพลี"แต่บางตำนานก็ว่า หลวงพ่อวัดบางพลีเป็นองค์แรกในจำนวน 5 องค์ จึงเรียกว่า "หลวงพ่อโตวัดบางพลี"
พระพุทธรูปองค์ที่ 4 ลอยไปตามแม่น้ำแม่กลอง ขึ้นสถิตที่วัดบ้านแหลม เมืองแม่กลอง เรียกว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม"
พระพุทธรูปองค์ที่ 5 ลอยไปตามแม่น้ำเพชรบุรี ขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเคราเมืองเพชรบุรี เรียกว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"
ส่วนตำนานของเมืองนครปฐมนั้นเล่าว่า มีพระ 3 องค์ ลอยน้ำมาพร้อมกัน และแสดงปาฏิหาริย์จะเข้าไปยังบ้านศรีมหาโพธิ์ ซึ่งมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ จึงได้เรียกตำบลนั้นว่า "บางพระ" พระพุทธรูป 3 องค์ลอยไปจนถึงปากน้ำท่าจีนแล้วกลับลอยทวนน้ำขึ้นมาใหม่ จึงเรียกตำบลนั้นว่า "สามประทวน" หรือ "สัมปทวน" แต่เนื่องจากตำบลที่ชาวบ้านพากันไปชักพระขึ้นฝั่งเพื่อขึ้นประดิษฐาน ณ หมู่บ้านของตน แต่ทำไม่สำเร็จ ต้องเปียกฝนและตากแดดตากลมจึงได้ชื่อว่า "บ้านลานตากฟ้า" และ "บ้านตากแดด" ในที่สุดพระพุทธรูปองค์แรกจึงยอมสถิต ณ วัดไร่ขิงเรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" ส่วนองค์ที่ 2 ลอยน้ำไปแล้วสถิตขึ้นที่วัดบ้านแหลมจังหวัดสมุทรสงคราม เรียกว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" และองค์ที่ 3 ลอยตามน้ำไปตามจังหวัดเพชรบุรี แล้วขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเครา เรียกว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"
วัดท่าพูด พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าพูด

ไม่ไกลจากวัดไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ที่ประดิษฐานหลวงพ่อวัดไร่ขิงอันศักดิ์สิทธิ์ มีวัดขนาดไม่ใหญ่ไม่เล็กอยู่อีกแห่งหนึ่ง ชื่อ วัดท่าพูด ผู้คนที่สัญจรมักจะผ่านเลยไป ด้วยมิล่วงรู้ถึงของดีของงามในพระอารามแห่งนั้น
ลำพังเพียงภูมิสถานที่ตั้งก็อาจนับได้ว่าสงบงาม เบื้องหน้าวัดเปิดโล่ง มีลำน้ำนครชันศรีหรือแม่น้ำท่าจีนไหลเรื่อย แลเห็นเงาของแผ่นฟ้ากว้างสะท้อนลงปรากฏบนผืนน้ำ ทั้งศาลาท่าน้ำตลอดจนศาลาเล็กน้อยต่างๆ ล้วนแต่จัดปรุงขั้นด้วยศรัทธาอันละเอียดประณีต เรียกว่า " ดูได้ " ทุกหลัง
ผ่านลานวัดขึ้นมาถึงยังอาคารในเขตพุทธาวาส ด้านหน้ากำแพงแก้วมีของแปลกพิเศษเฉพาะวัดท่าพูด คือจุฬามณีเจดีย์ ปูชนียสถานสำคัญของพุทธสนิกชนอันสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านแต่ก่อนที่จำลองพระจุฬามณีมาประดิษฐานไว้นี้ได้รังสรรค์ทั้งองค์พระเจดีย์ตลอดจนปฏิมารูปพระอินทร์ผู้เป็นอธิบดีแห่งทวยเทพ รูปพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย์ และรูปพระมาลัยเถระ ต้องตามที่พรรณไว้ในคัมภีร์
ถัดนั้นไป ในวงกำแพงแก้ว วิหารหลังใหญ่เก่าแก่ก็ยังได้รับการปฏิสังขรณ์ไว้เป็นอันดี กลมกลืนกับอุโบสถใหม่ที่สร้างขึ้นแทนของเดิมโดยมิได้ขัดหูขัดตาเช่นวัดหลายแห่ง นอกนั้น ยังมีหอพระไตรปิฎกรุ่นรัชกาลที่ ๓ อีกหลังหนึ่ง ก่ออิฐถือปูนเป็นสองชั้น หลังคามีช่อฟ้าใบระกา ณ หอไตรหลังนี้เองเป็นที่ตั้งของ " พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด " ในบัดนี้
วัดท่าพูด มีมาแล้วตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีหลักฐานปรากฏในจารึกแผ่นอิฐที่ใช้ก่อสร้างอุโบสถหลังเดิม (ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์) บอกศักราชไว้ว่าปีมะเมีย จ.ศ.๑๑๐๐ ตรงกับรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ.๒๒๘๑ หลังจากนั้นมาวัดท่าพูดก็ยังมีประวัติสืบเนื่องต่อมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยเหตุนั้นในวัดท่าพูดจึงมีโบราณวัตถุสถานจากยุคสมัยต่างๆ หลงเหลือให้เห็นเป็นประจักษ์พยานอยู่
ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ คณะกรรมการวัดทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส ได้พิจารณาเห็นว่า โบราณวัตถุของวัดท่าพูดที่มีเป็นจำนวนไม่น้อยนั้นสมควรจะได้นำมาจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประจำวัดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษา ทั้งยังเป็นการเชิดชูเกียรติคุณของพระอารามอันมีความรุ่งเรืองสืบเนื่องมา ในการนี้จึงมีดำริให้ปรับปรุงหอพระไตรปิฎกเก่าเป็นสถานที่เก็บรวบรวมและจัดแสดงสิ่งของไปพลางก่อน จนกว่าจะมีอาคารพิพิธภัณฑ์ถาวรต่อไป และได้เริ่มเปิดให้ประชาชนเข้าชมมาตั้งแต่วันงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูพิศาลสาธุวัฒน์ (ประสิทธิ์ ฉนหโก) อดีตเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐ สิ่งของสำคัญที่สุดในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เห็นจะได้แก่ พระยานมาศ หรือคานหาม ซึ่งมีประวัติมาในตำนานของวัดท่าพูดว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพระราชทานเป็นเกียรติยศแก่หลวงพ่อรด อดีตเจ้าอาวาส พร้อมกับกระโถนถมปัด กาน้ำชา และเรือกัญญา พระยานมาศองค์นั้นยังได้ใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์วัดท่าพูดด้วย สิ่งของจำนวนมากที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์นี้จะเกี่ยวเนื่องด้วยอดีตเจ้าอาวาสองค์ต่างๆ เช่น ภาพถ่าย หรือข้าของเครื่องใช้อันตกทอดกันมา อาทิ หลวงพ่อแก้ว อดีตเจ้าอาวาสในสมัยรัชกาลที่ ๕ ๖ ตามประวัติว่าได้เคยไปศึกษาวิชาช่างที่เพชรบุรี ก็จะมีสมุดไทยที่ท่านใช้ร่างภาพแบบไทยต่างๆ ใส่กรอบไว้ให้ชมหลายภาพ บางส่วนก็ได้แก่ศาสนวัตถุต่างๆ ที่เป็นสมบัติของวัดมาแต่เก่าก่อน เช่น หีบพระธรรมลายรดน้ำ ตู้พระธรรม คัมภีร์ศาสนา ตำรายันตร์ หงส์สำริดที่เคยใช้ประดับยอดเสาหงส์ และพระพุทธรูปต่างๆ ที่เหลือรอดเงื้อมือโจรใจบาปที่มาทะลวงกรุองค์จุฬามณีเจดีย์เมื่อหลายปีก่อน
นอกจากนั้นแล้ว สิ่งของที่นับว่าเป็นกลุ่มใหญ่ คือเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวันของชาวบ้านในยุคก่อนที่บริจาคมาให้กับทางพิพิธภัณฑ์เช่น เครื่องถ้วยชาม เครื่องแก้ว เครื่องมือการเกษตร เครื่องครัว และเครื่องจักสานต่างๆ จนถึงปัจจุบัน มีสิ่งของที่ได้ลงทะเบียนเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์แล้วกว่า ๖๐๐ ชิ้น
นอกเหนือไปจากการจัดพิพิธภัณฑ์แล้ว ข้อที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นคุณูปการสำคัญยิ่งก็คือทางคณะ กรรมการผู้จัดทำพิพิธภัณฑ์ได้บันทึกความรู้เกี่ยวกับวัดและชุมชนท้องถิ่นไว้ในรูปของหนังสือ โดยในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูพิศาลสาธุวัฒน์ (ประสิทธิ์ ฉนทโก) เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐ ได้มีการจัดทำหนังสือ " ประวัติวัดท่าพูด " ขึ้นเป็นเล่มใหญ่พิมพ์สอดสีงองาม หนากว่า ๑๔๐ หน้า ในหนังสือเล่มนี้มีทั้งเรื่องราวตำนานประวัติวัด ประวัติอดีตเจ้าอาวาสและวัตถุมงคลที่แต่ละรูปได้สร้างขึ้น โบราณสถานในวัด สิ่งของชิ้นสำคัญในพิพิธภัณฑ์ และเรื่องราววัฒนธรรมท้องถิ่นในย่านนั้น เช่น ผู้มีฝีมือในเชิงช่าง วงปี่พาทย์และกลองยาว
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าพูด
พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด นับได้ว่าเป็นตัวอย่างของพิพิธภัณฑ์วัด ที่จัดทำขึ้นด้วยแรงศรัทธาและกำลังของคนในชุมชน ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดเช่นว่า เมื่อยังไม่มีเงินพอจะสร้างอาคารอะไรใหญ่โตได้ ก็ใช้วิธีปรับปรุงกั้นห้องกั้นประตูหอไตรเดิมไปก่อน แต่ทั้งนี้ก็มิได้ละทิ้งงานที่จำเป็นของพิพิธภัณฑ์ เช่น การศึกษาสิ่งของที่มีอยู่ หรือการทำทะเบียน ซึ่งในส่วนนี้ทางพิพิธภัณฑ์วัดท่าพูดได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น เช่น อาจารย์จากโรงเรียนวัดไร่ขิงที่ได้มาทำการศึกษาเปรียบเทียบพระยานมาศ หรือมหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ได้ช่วยเหลือในการสำรวจทำทะเบียนเอกสารโบราณ เป็นต้น
ตั้งอยู่ในวัดท่าพูด ตำบลไร่ขิง ริมแม่น้ำท่าจีน เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปีจากหลักฐานจารึกบนแผ่นอิฐมอญบนผนังพระอุโบสถ สันนิษฐานว่าสร้างสมัยอยุธยาตอนปลายประมาณสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โดยกลุ่มคนที่อพยพโยกย้ายมาจากกรุงศรีอยุธยาเพื่อหลบภัยสงครามหลังเสียกรุงศรีอยุธยาพ.ศ. 2310 และมาตั้งหลักแหล่งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน หลวงพ่อรดเจ้าอาวาสคนแรกเป็นอดีตพระราชาคณะกรุงศรีอยุธยา แม้ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะนิมนต์ท่านให้เข้าไปจำพรรษาในเมืองหลวง เนื่องจากทรงฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีสมัยกรุงศรีอยุธยาและทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาโดยสืบหาพระภิกษุสงฆ์ที่มาจากกรุงเก่าเพื่อนิมนต์เข้าไปจำพรรษาในกรุงธนบุรี แต่หลวงพ่อรดก็ประสงค์จะจำพรรษาที่วัดนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมิขัดข้องและทรงพระราชทานสิ่งของหลายสิ่ง เช่น พระยานมาศ(คานหาม) กระโถนถมปัทม์ กาน้ำชาและเรือกัญญาจำนวนอีก 2 ลำ ในสมัยรัชกาลที่ 5 วัดท่าพูดเป็นที่รู้จักของเชื้อพระวงศ์ ได้แก่ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องจากในขณะนั้นมีเจ้าอาวาสใหญ่และรองที่มีชื่อเสียงคือหลวงพ่อแก้วและหลวงพ่อชื่น ปี พ.ศ.2540 มีความคิดที่จะสร้างพิพิธภัณฑ์ประจำวัดขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา มีการใช้พื้นที่การจัดแสดงเป็น 3 ส่วน คือ 1. หอพระไตรปิฎกสมัยรัชกาลที่ 3 จัดแสดงโบราณวัตถุ เช่น สิ่งของที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระราชทานให้แก่พระอาจารย์รด นอกจากนั้นยังมีเครื่องถมปัทม์ 2. กุฏิอดีตเจ้าอาวาสหลังเก่าพ.ศ. 2502 จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ของเจ้าอาวาส เครื่องบริขารต่างๆ สมบัติของวัด เช่น เครื่องแก้ว เครื่องกรองน้ำ เครื่องปั้นดินเผาที่งมได้จากแม่น้ำหน้าวัด รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ที่แสดงภูมิปัญญาท้องถิ่นเช่น เถรรอดเพล (เถร-อด-เพล) เป็นเครื่องเล่นลับสมองของคนไทยโบราณทำจากไม้ มีภาพถ่ายทางอากาศของวัด และ 3. อาคารเรียนพระปริยัติธรรมสมัยรัชกาลที่ 5-6 เป็นอาคารไม้สักประดับลายไม้ฉลุ(ขนมปังขิง) หน้าจั่วเป็นรูปเครื่องหมาย “ มหามกุฏราชวิทยาลัย” วัดบวรนิเวศวิหาร ชั้นบนมุมหนึ่งรวบรวมเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ย้อนยุคสมัยต่างๆ และยังมีหนังสือและเอกสารต่างๆที่ทางวัดเก็บไว้ ชั้นล่างใต้ถุนอาคารเก็บเครื่องวิดระหัดน้ำเข้านา
พระเจดีย์จุฬามณีหน้าพระอุโบสถ ที่ได้รับการบูรณะ เนื่องจากของเดิมปรักหักพัง และโดนโจรผู้ร้ายปล้นเอาสิ่งของมีค่าภายในไปมากมาย

ปฏิมารูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ หน้าพระเจดีย์จุฬามณี

ปฏิมารูปพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย์ หน้าพระเจดีย์จุฬามณี
หงส์สำริด ที่ใช้ประดับมุมสระน้ำโบราณหน้าวัด ซึ่งปัจจุบันสระถูกถมไปจนหมดสิ้น ส่วนหงส์สำริดนี้ เป็นเพียง 1 ใน
4 ที่ตามกลับมาได้จากการถูกโจรกรรม

พระยานมาศ หรือคานหาม ศิลปะสมัยอยุธยา ที่มีประวัติความเป็นมาคู่กับวัดท่าพูด เกือบจะถูกเผาทำฟืน เนื่องจากไม่มีผู้ใดทราบถึงความสำคัญของศิลปะวัตถุชิ้นนี้
เศรษฐกิจพอเพียง
จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป

พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
บรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น
ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาด้าน หัตถกรรม
ชื่อ เชอร์รี่ เบญจรงค์
ที่อยู่เลขที่ ๙/๔ หมู่ ๑๑ หมู่บ้านประภาวรินทร์
ซอยไร่ขิง ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
๗๓๒๑๐
ติดต่อ : คุณขวัญจิตร จันทร์บำรุง
คุณรุ่งศักดิ์ จันทร์บำรุง และนายธนากฤต จันทร์บำรุง
โทร : ๐๘ ๙๕๒๔ ๓๕๙๓ ๐๘ ๑๔๕๗ ๖๐๔๙
โทร/แฟกซ์ : ๐๓๔ ๓๖๐๐๔๓
ประวัติความเป็นมา
การทำเครื่องเบญจรงค์ถือได้ว่าเป็นงานด้านศิลปหัตถกรรมของไทยที่มีมา ตั้งแต่สมัยโบราณ และเป็นงานของช่างฝีมือที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในราชวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะของไทยในปัจจุบันมีการทำกันในหลายพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย และสามารถใช้ได้กับบุคคลทั่วไป เครื่องเบญจรงค์สามารถนำมาเป็นของชำรวย ของฝาก และของตกแต่งบ้านได้จึงเป็นที่นิยมอย่างมาก
เครื่องเบญจรงค์เป็นเครื่องถ้วยที่มีการลงสีที่พื้นและลวดลายเป็นเครื่องปั้นดินเผาประเภท เซรามิคส์ ใช้เนื้อดินประเภทพอร์ซเลนโดยเป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เขียนลายด้วยวิธีลงยาหรือสีผสมเคลือบ เป็นงานที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐
การทำเครื่องเบญจรงค์ถือได้ว่าเป็นงานด้านศิลปหัตถกรรมของไทยที่มีมา ตั้งแต่สมัยโบราณ และเป็นงานของช่างฝีมือที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในราชวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะของไทยในปัจจุบันมีการทำกันในหลายพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย และสามารถใช้ได้กับบุคคลทั่วไป เครื่องเบญจรงค์สามารถนำมาเป็นของชำรวย ของฝาก และของตกแต่งบ้านได้จึงเป็นที่นิยมอย่างมาก
เครื่องเบญจรงค์เป็นเครื่องถ้วยที่มีการลงสีที่พื้นและลวดลายเป็นเครื่องปั้นดินเผาประเภท เซรามิคส์ ใช้เนื้อดินประเภทพอร์ซเลนโดยเป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เขียนลายด้วยวิธีลงยาหรือสีผสมเคลือบ เป็นงานที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐
ในรัชสมัยพระเจ้าซวนเต๊อะ (พ.ศ. ๑๙๖๙-๑๙๗๘) สมัยราชวงศ์หมิง มีการผลิตครั้งแรก ในแคว้นกังไซ มณฑลเจียงซี (หรือที่คนไทยเรียกว่า กังไส)
ร้านเชอร์รี่เบญจรงค์มีของขายอยู่ที่ตลาดน้ำวัดดอนหวายและที่วัดไร่ขิงมีผลิตภัณฑ์จาก เครื่องเบญจรงค์มากมาย เช่น เครื่องเบญจรงค์ชุดฮ่องเต้เบญจรงค์
เชิงเทียนมุก ลายพุฒตาล ๑ คู่ เชิงเทียนมุก ลายพุฒตาล ๑ คู่ เชิงเทียนเบญจรงค์ ลายกล้วยไม้ป่า ๑ คู่และผลิตภัณฑ์อื่นอีกมากมาย และยังได้รับการคัดสรรเป็น OTOP Product Champion หรือ OPC ระดับ ๕ ดาว ปี ๒๕๔๙ อีกด้วย
ภูมิปัญญาด้าน การเกษตร
ชื่อ บริษัท เอิรธ์ ไลฟ์ จำกัด
ที่อยู่เลขที่ ๑๐๑/๘๓ ถนนประชาราช ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
๗๓๒๑
โทรศัพท์: ๖๖๑-๙๐๔๗๐๐๓, ๖๖๑-๓๕๐๔๒๓๙
โทรสาร: ๖๖๓๔-๒๘๘๘๔๕
ประวัติความเป็นมา
ก่อนจะเป็น สเปรย์เอ็มไซม์ปรับอากาศและกำจัดกลิ่น สารพัดประโยชน์ บริษัท เอิรธ์ ไลฟ์ จำกัด ( Earth Life Co., Ltd.) เริ่มต้นจากการเป็นบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชีวภาพ บริษัทเริ่มก่อตั้งเมื่อปี ๒๕๓๙ และได้ผลิตจุลินทรีย์ชีวภาพ สำหรับใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อกำจัดน้ำเน่าและดินเสีย เป็นผลิตภัณฑ์แรกของบริษัท ภายใต้ชื่อการค้า ยี่ห้อ ไบโอเกรท (Bio-Great) และบริษัทฯ ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างต่อเนื่อง ในกลุ่มสารผสมล่วงหน้าสำหรับสัตว์น้ำเศรษฐกิจทุกประเภท เคมีภัณฑ์ และเวชภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น ต่อมาบริษัทฯ ได้นำจุลินทรีย์ที่ใช้สำหรับ ให้สัตว์กินเพื่อใช้ป้องกันโรคใน กุ้ง และไก่ มาวิจัยพัฒนาเพิ่มเติม เป็นการต่อยอดธุรกิจ จึงเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่คือ เอมไซม์กำจัดกลิ่นชีวภาพ สารพัดประโยชน์ ภายใต้ชื่อการค้า ยี่ห้อ บีซีซี (Bio-Great Concentrate Cleanser) ซึ่งได้จากจากจุลินทรีย์ ของพืชพรรณไม้หอมไทย หลากหลายประเภท เช่น กลิ่นดอกมะลิ, กลิ่นดอกลีลาวดี, กลิ่นดอกบัวเป็นต้น สามารถใช้กำจัดกลิ่นเหม็นต่างๆ และกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ทุกชนิด แก้ปัญหาที่ต้นเหตุของการเกิดกลิ่นได้อย่างเฉียบพลัน และไม่เป็นอันตรายใดๆ ต่อผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้บริษัทยังได้ผลิตกลุ่มของสินค้าใหม่ได้แก่ สเปรย์กำจัดกลิ่นในห้องน้ำ สเปรย์กำจัดกลิ่นเท้า สเปรย์กำจัดกลิ่นตัวสัตว์เลี้ยง และสเปรย์เอ็นไซม์ตะไคร้หอม ไล้ยุง ภายใต้ยี่ห้อ ไบโอ-เกรท ( Bio Great ) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ บริษัทได้รับประกาศนียบัตร ๔ ดาว
อาเซียนศึกษา
เรียบเรียงโดย..อ.มานพ ปราชญ์อภิญญา
มารู้จัก 10 ประเทศอาเซียน ประวัติอาเซียน10ประเทศ
ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)
แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูการรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน
โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538 ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ
2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้
3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ
4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)
เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบนคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ
6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)

7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)
เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)
8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ
9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)
เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ
ž"""ž ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งมีการวางกรอบความร่วมมือ เพื่อสร้างความเข็มแข็ง รวมถึงความมั่นคงของประเทศสมาชิกทั้งด้านความมั่นคงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วางแนวทางก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายใต้คำขวัญคือ "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม" (One Vision, One Identity, One Community) โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political Security Community : APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)
โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคงž
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น